|
|
|
|
[19 มิ.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบเงินให้แก่
นางเหมือนมาศ พงษ์ไพร
(บริหาร - ห้องปฏิบัติการเคมี)
จำนวน 35,000 บาท
แทนสวัสดิการมอบสร้อยคอทองคำ เนื่องจากเกษียณอายุจากการทำงาน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[22 ก.ค. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของเยี่ยมไข้แก่
นายสุธิชัย จิตตะ
สมาชิกแผนกหนองแค - สระบุรี
|
|
|
[12 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของเยี่ยมไข้แก่
นายสมหมาย อยู่เพ็ชร
สมาชิกแผนกห้องปฏิบัติการเคมี
|
|
|
[19 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของเยี่ยมไข้แก่
นางน้ำอ้อย อุ่นจิต
สมาชิกแผนกเจ้าหน้าที่
|
|
|
[26 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของเยี่ยมไข้แก่
นายลิขิต มีบำรุง
สมาชิกแผนกบริหาร (อินทรูเมนท์)
|
|
|
[27 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของเยี่ยมไข้แก่
นางสาวอารีย์ จันทรโคตร
สมาชิกแผนกวิสโคส ผลิต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[13 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ มอบของที่ระลึกเนื่องในพิธีผูกข้อมือ
นางสาวฐิตินันต์ รอดเสี่ยงล้ำ
(บริหาร - สโตร์)
ณ ที่ทำการสหกรณ์
เนื่องจากไม่ได้เดินทางไปเข้าร่วมพิธี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[18 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพฟังพระสวด
พระอภิธรรมศพมารดานายอำนวยเดช สบายแท้
สมาชิกแผนกบริหาร (เซ็นทรัล ซ่อมบำรุง)
ณ วัดปราสาท
ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
พร้อมมอบเงินสวัสดิการงานศพ จำนวน 500 บาท
|
|
|
[23 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพฟังพระสวด
พระอภิธรรมศพมารดานายลือชัย เพ็ชรประดับ
สมาชิกแผนกวิสโคส ผลิต
ณ วัดโพธิ์ทูล
ต.จำป่าหล่อ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง
พร้อมมอบเงินสวัสดิการงานศพ
จำนวน 500 บาท
|
|
|
[23 ก.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพฟังพระสวด
พระอภิธรรมศพมารดานายภูวดล น้อยเนตร
สมาชิกแผนกหนองแค (สระบุรี)
ณ วัดทุ่งดินขอ
ต.หนองปลิ่ง อ.หนองแค จ.สระบุรี
พร้อมมอบเงินสวัสดิการงานศพ
จำนวน 500 บาท
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[8 มิ.ย. 2567]
นางนาถ มงคลหว้า หัวหน้าฝ่ายทั่วไป
มอบเงินค่าสินไหมทดแทน จำนวน 50,000 บาท
ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์กรณี
นายพยนต์ ทองกระจาย เสียชีวิต
ซึ่งเป็นประกันชีวิตกลุ่มที่สหกรณ์จัดทำร่วมกับ
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[21 - 22 ก.ย. 2567]
นางสาวพรรษพร แสงประพาฬ เลขานุการ และนางนาถ มงคลหว้า หัวหน้าฝ่ายทั่วไปฯ
เข้าร่วมโครงการสัมมนา หลักสูตร “การจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนบริหารความเสี่ยงสหกรณ์ออมทรัพย์”
จัดโดย เขตพื้นที่สหกรณ์สมาชิก ชสอ. ภาคกลาง ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ ต.ไผ่ลิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สหกรณ์สมาชิกมีความเข้าใจถึงสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันกับการบริหารงานสหกรณ์
และนำมาปรับใช้กัยการตัดทำแผนกลยุทธ์และแผนบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ได้
สรุปผลการเข้าร่วมอบรม
การจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนบริหารความเสี่ยงสหกรณ์ออมทรัพย์
วันที่ 21 กันยายน 2567
(ช่วงเช้า)
- ทำการเปิดอบรมโดย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 44 สหกรณ์ 120 คน 8 จังหวัด
- ทำการบรรยายพิเศษโดย พลโท ดร.วีระ วงศ์สรรค์ พร้อมมอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อจัดโครงการศึกษาอบรม
- บรรยาย เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจกับการบริหารงานสหกรณ์ออมทรัพย์
โดย พล.ต.ต. นายแพทย์ดนุกฤต กลัมพากร ตำแหน่งรองประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด
ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลตำรวจ จำกัด โดยสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลตำรวจ จำกัด
ได้จ่ายเงินปันผล 10% มายาวนานถึง 15 ปี โดยการจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก 2.5%
ซึ่งสหกรณ์มีทุนดำเนินการมากแล้วนำไปฝากกับองค์กรภายนอกดอกเบี้ย 3.5%
การบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์
1. การจัดการการเงิน โดยต้องบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (การฝาก-การกู้)
2. การบริหารความเสี่ยง ต้องจัดการความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ที่อาจไม่สามารถคืนได้ การประเมินความเสี่ยงของผู้กู้
และวางแผนการจัดการหนี้เสียเป็นสิ่งสำคัญ
3. การพัฒนาสมาชิก (จัดศึกษาอบรม)
4. การกำกับดูแลและตรวจสอบ
สภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อสหกรณ์ออมทรัพย์
1. สภาพเศรษฐกิจโดยรวม
2. อัตราดอกเบี้ย
3. นโยบายของรัฐ
การประเมินสภาวะเศรษฐกิจเพื่อใช้ในการจัดทำแผนกลยุทธ์/แผนบริหารความเสี่ยง
1. เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตอยู่ที่ใด กำลังไปทิศทางไหน
2. สภาวะที่จะเกิดขึ้นในช่วงบริหารส่งผลกระทบต่อสหกรณ์
3. สหกรณ์ควรรับมืออย่างไร
(ช่วงบ่าย)
การจัดทำแผนกลยุทธ์ โดยคุณขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์การพัฒนาชุมชน จำกัด
ได้พูดถึงว่าก่อนที่จะจัดทำแผนกลยุทธ์ สหกรณ์ต้องทำการสำรวจ/วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสหกรณ์ว่างเป็นอย่างไร
แล้วจะไปทางไหน ต้องทำอย่างไร
กลยุทธ์ คือ แนวทางี่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ดี |
ปัจจัยที่ส่งผลให้เลือกกลยุทธ์ได้ดี |
- กลยุทธ์ต้องตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก
- กลยุทธ์ต้องรักษาสถานภาพความได้เปรียบในการแข่งขัน
- กลยุทธ์แต่ละด้านต้องสอดคล้องกัน
- กลยุทธ์ต้องยืดหยุ่น
- กลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับพันธกิจเป้าประสงค์
- กลยุทธ์ต้องมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน |
- การวิเคราะห์ปัญหาอย่างชัดเจน
- การรู้ถึงทางเลือกในการแก้ปัญหาที่มีอยู่
- การเลือกแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันกับทางเลือก
ที่คิดว่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา |
กฏ 7 ข้อในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ
1. กำหนดกลยุทธ์ให้เข้าใจง่ายและเป็นรูปธรรม
2. หาข้อหักล้างสมมติฐานเดิม ไม่ใช่แค่ตัวเลขประมาณการ
3. ยึดกรอบแนวทางที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน
4. หารือกันเกี่ยวกับการนำทรัพยากรไปใช้ตั้งแต่แรกๆ
5. ระบุสิ่งที่ไม่สำคัญอย่างชัดเจน
6. ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
7. ให้รางวัลตอบแทน และพัฒนาความสามารถในการนำแผนไปปฏิบัติ
วันที่ 22 กันยายน 2567
บรรยาย เรื่อง การจัดทำแผนกบริหารความเสี่ยงสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยนางสาวอรุณี วงศ์ราเชน
อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจการเงินสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยพูดถึงการควบคุมภายใน
กับความเสี่ยงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
- ด้านการดำเนินงาน ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมาย การใช้ทรัพยากร (คน)
งบประมาณทรัพย์สินคุ้มค่าและปลอดภัยรวมถึงการลดข้อผิดพลาดมิให้เกิดความเสียหาย
- ด้านรายงาน รายงานทางการเงินมีคุณภาพ ถูกต้องตามความเป็นจริง ครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบกาเรงิน
- มีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติที่ประชุม นโยบาย รวมทั้งเงื่อนไปสัญญาต่างๆ
ที่กำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการละเว้นหรือไม่ปฏิบัติ
ความเสี่ยง เป็นความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ความเสียหาย การทุจริต ความผิดพลาด
การขาดทุน เหตุร้าย การเกิดอันตราย เกิดการสูญเสียต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการต่างๆ ในอนาคต
และมีผลต่อการปฏิบัติงานไม่สำเร็จ โดยสหกรณ์ต้องจัดการปัญหาให้ไวดับไปให้ทัน ป้องกันอย่าให้ลาม
ความเสี่ยงมาจากแหล่งใดได้บ้าง
1. ปัจจัยภายนอก/ภายใน
2. การวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน
3. วิเคราะห์จุดออ่อน การควบคุมภายใน
4. ผลตรวจสอบ
5. ข้อร้องเรียน การถูกดำเนินคดี
6. บุคลากรกระทำทุจริต บกพร่อง
ฝากประชาสัมพันธ์ โดยจะมีการจัดประชุมออนไลน์ เรื่อง “การประเมินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ”
ของเขตพื้นที่สหกรณ์สมาชิก ชสอ. ภาคกลาง ในวันที่ 26 กันยายน 2567 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[7 มิ.ย. 2567]
สหกรณ์ฯ จัดกิจกรรม “เสื้อผ้ามัดย้อม”
ณ บ้านสวน ต.บ้านอิฐ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิต เพื่อเป็นการหารายได้เสริมให้กับสมาชิกต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[30 ส.ค. 2567]
นายสุทัศน์ เอี่ยมแสง ประธานกรรมการฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปี 2567
ให้แก่บุตรของพนักงาน จำนวน 155 ทุนๆ ละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นทุนการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงปริญญาตรี
ณ สโมสรพนักงาน (คลับเฮ้าส์) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[30 ส.ค. 2567]
นายสุทัศน์ เอี่ยมแสง ประธานกรรมการฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปี 2567
ให้แก่บุตรของพนักงาน จำนวน 155 ทุนๆ ละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นทุนการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงปริญญาตรี
ณ สโมสรพนักงาน (คลับเฮ้าส์) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) |
|