พระตำหนักคำหยาดหรือพระที่นั่งคำหยาด

อยู่ในทุ่งนา ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิทอง มีลักษณะเช่นเดียวกับตำหนักทุ่งหันตรา คือก่อเป็นตึกสูง
จาก
พื้นดิน 5 ศอก ผนังชั้นล่างเป็นช่องคูหา ปูพื้นกระดานชั้นบนซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มจรนำ หลังคาในประธาน 3 ห้อง
มุขลดหน้าท้าย รวมเป็น 5 ห้อง มีมุขเด็จทั้งหน้าหลัง ด้านข้างมุขเด็จเสาหาร มีอัฒจันทร์ขึ้นข้างมุข หลังอุดฝาตัน เจาะช่องหน้าต่างไว้สูง ที่หว่างผนังด้านหุ้มกลองเจาะเป็นคูหา ทั้งข้างหน้าข้างหลังมีช่องคอสอง เป็นฝีมือช่างแบบ
ลพบุรี
ยาวตลอดหลัง 9 วา 2 ศอก ขื่อกว้าง 5 วา อุดหน้าต่างมุขลดด้านหลังทั้ง 2 ด้าน หันหน้าไปทางตะวันออก ข้างด้านใต้มีวิหารเล็ก หรือหอพระหลังหนึ่ง แยกอยู่คนละโคก
พระตำหนักหลังนี้สันนิฐานว่า กรมขุนพรพินิตหรือเจ้าฟ้าอุทุมพร หรือที่เรียกอีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวง
หาวัด
พระอนุชา สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ เมื่อครั้งเสด็จออกทรง
ผนวชที่วัดโพธิทอง ซึ่งอยู่ห่างจากพระตำหนักนี้ประมาณ 2 กิโลเมตร
วัดป่าโมกวรวิหาร

ตั้งอยู่อำเภอป่าโมก ตามพงศาวดารเมืองเหนือกล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พระพุทธไสยาสน
์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัย วัดนี้เป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสงครามยุทธหัตถี เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกรีฑาทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา พระองค์ได้เสด็จมาชุมนุมพล และสักการะพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์นี้ พระองค์ได้ประทับพักแรมและทรงสุบินนิมิตรว่า ได้ทรงลุยน้ำไปพบจระเข้ ได้ทรงต่อสู้กับจระเข้ และทรงฆ่าจระเข้ตาย ต่อมา เมื่อทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาก็ทรงมีชัย ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชา สิ้นพระชนม์บนคอช้าง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2271 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เซาะตลิ่งทะลายลงมาตามลำดับ จนใกล้ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอองค์พระออกมาห่างจากตลิ่ง ให้พ้นเขตน้ำเซาะ และได้สร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ ได้แก่ พระอุโบสถและวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารเขียน ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
ตามพงศาวดารเมืองเหนือได้กล่าวถึงวัดป่าโมกอยู่ตอนหนึ่งว่า พระมหาเถรไลลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธตุ ของพระพุทธเจ้า 650 พระองค์ กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ 2 ต้น มาจากเมืองลังกา และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก 36 พระองค์
ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1480 พระมหาพุทธสาคร เชื้อพระวงศ์กษัตริย์ทางเมืองเหนือ ได้ท รงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ จึงประมวลเรื่องได้ว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 1480 พระมหาพุทธสาคร กษัตริย์ทางภาคเหนือ และพระมหาเถรไลลาย ได้ร่วมกันบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร
อยู่ที่อำเภอป่าโมก สร้างในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่ออิฐถือปูนเครื่องบนเป็นไม้ รูปทรงฐานและหลังคาโค้ง ทรงสำเภา หรือโค้งท้องช้าง ผนังด้านตะวันออกเจาะเป็นช่องประตู 1 ช่อง ตรงกับฉนวนทางเข้าพระวิหาร ที่เหลือเจาะเป็นช่องหน้าต่างรวม 6 ช่อง มีเพิงหลังคาคลุมโดยมีเสากลมรองรับสี่ต้น ปลายเสาประดับด้วยบัวกลุ่ม ผนังด้านทิศใต้ทึบ หลังคาทำเป็นสองชั้นซ้อน 3 ชั้น ลด มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยดินเผาชนิดไม่เคลือบ กระเบื้องเชิงชายเป็นลายนูนริ้วคล้ายใบไม้ หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ หน้าบันทั้งสองด้าน เป็นเครื่องไม้คั่นตัว เป็นลายประกน ระหว่างช่องประกนประดับลวดลายเฉพาะช่อง เป็นลายก้านขดศิลปอยุธยา เป็นงานแกะไม้ลงรักปิดทอง ด้านล่างประดับกระจังปฏิภาณและกระจังรวน บานประตูหน้าต่างประดับลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ หน้าขบก้านแย่ง เพดานกรุไม้ทึบ พื้นสีแดงชาด ลายฉลุปิดด้วยทองคำเปลว มีเสาสี่เหลี่ยมหลบมุม มีบัวปลายเสาจำนวน 16 ต้น รองรับเครื่องบน

วัดไชโยวรวิหาร
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ต่อมาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ใช้เวลาสร้างนานถึงสามปี เสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ถวายให้เป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเกษไชโย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2430 ได้มีการบูรณปฎิสังขรวัด สร้างอุโบสถและวิหารพระโต การก่อสร้างครั้งนี้ทำให้พระพุทธรูปที่สร้างไว้เดิมพังลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างองค์พระขึ้นใหม่ ใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงเสร็จ พระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ วิหารที่ประดิษฐาน พระพุทธพิมพ์มีขนาดสูงใหญ่มาก และมีรูปทรงที่แปลกตาไปจากที่เคยเห็นโดยทั่วไป มีศิลปะแบบโกธิคผสมอยู่ด้วย ตัววิหารเชื่อมติดกับ พระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก
ด้านหน้าพระวิหารมีมุขลด 2 ชั้น เมื่อมองด้านหน้าตรงจนเห็นหลังคาประกอบด้วยหน้าบัน 3 ชั้น ลดหลั่นลงมาอย่างงดงาม หน้าบันแรกเป็นหน้าบันตัวพระวิหาร หน้าบันกลางเป็นหน้าบันมุขลด และหน้าบันสุดท้ายล่างสุดเป็นหน้าบันพระอุโบสถ
ด้านหลังพระวิหารมีมุขลด 2 ชั้น เช่นเดียวกับด้านหน้า ตัวมุขทะยอยต่ำลงมาเป็นจังหวะได้สัดส่วนงดงาม พร้อมทั้งลดขนาดลงมาตามลำดับในแนวเดียวกับมุขลด หลังแรกที่ลดจากพระวิหาร มีกันสาดยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านข้าง รองรับด้วยเสานางเรียงทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่า เฉพาะด้านหน้าและด้านหลังพระวิหารซ้ายขวา ข้างละ 3 ต้น ด้านข้างซ้ายขวามีช่องประตูโค้งแหลม ด้านละ 1 ประตู
ด้านข้างพระวิหารก่อผนังเป็น 2 ระยะ ผนังด้านจรดหลังคามีช่องหน้าต่างโค้งแหลม ด้านละ 5 ช่อง ผนังช่องที่ 2 จากหลังคากันสาดจนถึงพื้นซึ่งเป็นช่องที่สูงมาก ด้านล่างเจาะช่องหน้าต่างโค้งแหลมด้านละ 5 ช่อง
หลังคาพระวิหารสร้างเป็น 2 ชั้น ซ้อน 4 ชั้นลด ส่วนหลังคามุขลดทั้งหมดสร้างเป็น 3 ชั้นลด หลังคากันสาดสร้างเป็น 3 ชั้นซ้อน หน้าบันมีจำนวน 6 หน้า ประดับด้วยลายปูนปั้น เป็นรูปพระเกี้ยววางอยู่บนพาน มีฉัตรอยู่ทั้งสองข้างซ้ายขวา ด้านล่างเป็นรูปตราราชสีห์ รวมทั้งหมดประกอบด้วยลวดลายพรรณพฤกษา สำหรับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ออกแบบให้ผสมผสานกับศิลปะยุโรป แต่ภาพโดยรวมแล้วคล้ายศิลปะไทย

ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธพิมพ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิแบบขัดสมาธิราบ ห่มจีวรริ้วมีขนาดใหญ่โต จนเป็นที่กล่าวขานกันมาแต่โบราณ มีพุทธลักษณะคลายลงมาจากของเดิม จนคล้ายกับมนุษย์ทั่วไป เช่น มีพระกรรณสั้น การห่มจีวรที่มีริ้วเป็นไปตามธรรมชาติ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนเป็นภาพพุทธประวัติมีสภาพสมบูรณ์ บานประตูหน้าต่างและด้านในพระอุโบสถมีลายเขียนสีรูปเครื่องบูชาแบบจีน ด้านนอกเป็นลายรดน้ำเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพพนม ก้านแย่ง ลายหน้าบันทั้งของพระอุโบสถ และพระวิหารเป็นลายปูนปั้น ตรงกลางเป็นรูปสิงห์อยู่ในวงกลม เหนือขึ้นไปเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุล |