ข้อ 92 การจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ
คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตมีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อ
แต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 72(1) , (2),(3),(4) ในการจ้างผู้จัดการ
สหกรณ์ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐานและให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มีหลักประกันอันสมควรในการแต่งตั้ง
หรือจ้างผู้จัดการ ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้ในข้อ 94 เป็นลายลักษณ์อักษรให้คณะ
กรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกการแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนด
อัตราเงินเดือน การให้สวัสดิการ และการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์
ข้อ 93 การดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์
สหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการสหกรณ์โดยกำหนดระยะเวลา หรือไม่กำหนดระยะเวลาก็ได้
ข้อ 94 อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ
ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไป และรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อ
ในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
(2) ควบคุมให้มีการเก็บเงินค่าหุ้นรายเดือน แจ้งยอดจำนวนหุ้น จ่ายคืนค่าหุ้นและชักชวน การถือหุ้นในสหกรณ์
(3) รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และส่งเสริมการรับฝากเงินของสหกรณ์
(4) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้ จ่ายเงินกู้ จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้ ให้เป็นไปตามแบบและระเบียบของ
สหกรณ์
(5) จัดทำรายละเอียดของสมาชิกรายตัวเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น และเงินฝากให้กู้ทุกหกเดือน พร้อมกับแจ้งให้สมาชิก
ทราบเป็นรายบุคคล
(6) พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึงกำหนด
หน้าที่และวิธีการปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแล
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(7) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วน รับผิดชอบในการ
รับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบ
ถ้วน และ เก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
(8) รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(9) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่คณะกรรมการดำเนินการและประชุมคณะ
กรรมการอื่นๆ
(10) รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ เสนอ คณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(11) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา
(12) จัดทำแผนปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
(13) เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและประชุมคณะกรรมการอื่นๆ เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้นๆ มิให้เข้าร่วมประชุม
(14) ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์
(15) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่างๆ ของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและ
ปลอดภัย
(16) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(17) เสนอรายการ หรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
(18) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่นๆ ของสหกรณ์มอบหมาย หรือตามที่
ี่ ควรกระทำ เพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
ข้อ 95 การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ
ผู้จัดการของสหกรณ์ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(3) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฏหมายสหกรณ์กำหนด
(4) อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ยกเว้นผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่ได้รับการจ้าง
งานก่อนวันที่ 31 มกราคม 2554
(5) ถูกเลิกจ้าง
(6) ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออก หรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ หรือละเว้นการ
กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีแก่ประชาชน หรือไม่เหมาะสมกับ
ตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
ข้อ 96 การลาออก
ให้ผู้จัดการสหกรณ์ยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พิจารณา การลาออกนั้น การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการ สหกรณ์
กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน
ข้อ 97 การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการ
ให้กรรมการดำเนินการ ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ หรือสหกรณ์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่
สหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้ให้คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่ง
ตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน 5 ปี
ข้อ 98 การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ
ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่
ี่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการหรือผู้ช่วยผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษา
การแทน
ข้อ 99 การเปลี่ยนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการ
ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน กับบรรดาทรัพย์สิน
และหนี้สินตลอดจน จัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน
ข้อ 100 เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
นอกจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว สหกรณ์อาจจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่น โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ
72 (1) , (2) , (3) , (4) ตามความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการกำหนด
ที่ปรึกษา
ข้อ 101 ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่งทรงคุณวุฒิมีความสามารถ และเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาและที่
ี่ปรึกษากิตติศักดิ์ได้จำนวนไม่เกินห้าร้อยคนเพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบ
ที่สหกรณ์กำหนด
ผู้ตรวจสอบกิจการ
ข้อ 102 ผู้ตรวจสอบกิจการ
ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกหรือบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิ ความรู้ ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน การบัญชี
การเศรษฐกิจ หรือการสหกรณ์เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์เป็นการประจำปี จำนวนไม่เกินห้าคนหรือหนึ่งนิติบุคคลที่ประชุม
ใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ หรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์เป็น ผู้ตรวจสอบกิจการไม่ได้
ข้อ 103 การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ
ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้มีกำหนดเวลาเหนึ่งปีทางบัญชีสหกรณ์ถ้าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจ
สอบกิจการคนใหม่ ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งออกไปนั้น อาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ
ข้อ 104 อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจสอบกิจการ
ผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งปวงของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ คือ
(1) ตรวจสอบเอกสาร สรรพสมุด บัญชี ทะเบียนและการเงิน ตลอดจนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งปวงของสหกรณ์ เพื่อทราบฐานะและข้อเท็จจริงของสหกรณ์ที่เป็นอยู่จริง
(2) ตรวจสอบหลักฐานและความถูกต้องของการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภทของสหกรณ์ เพื่อประเมินผลและอาจให้
ข้อแนะนำแก่คณะกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติ
ในกิจการนั้นๆ
(3) ตรวจสอบการจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนหนังสือสัญญาจ้างและหลักประกัน
(4) ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของสหกรณ์
(5) ติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุง แผนงานข้อบังคับ ระเบียบ มติ ตลอดจนคำสั่งต่าง ๆ ของสหกรณ์
(6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ หรือกิจการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดผลดี
แก่การดำเนินกิจการของสหกรณ์
ให้ผู้ตรวจสอบกิจการเสนอรายงานผลการตรวจสอบประจำเดือนต่อคณะกรรมการ ดำเนินการในการประชุมประจำเดือน
คราวถัดไปแล้วเสนอผลการตรวจสอบประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์
ด้วยหากพบข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินสหกรณ์แก้ไข โดยมิชักช้า ผู้ตรวจ
สอบกิจการอาจเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องนั้นด้วยก็ได้
ข้อ 105 ความรับผิดของผู้ตรวจสอบกิจการ
หากผู้ตรวจสอบกิจการตรวจพบข้อบกพร่องของสหกรณ์ต้องแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการทราบเพื่อแก้ไขโดยเร็ว ผู้ตรวจ
สอบกิจการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอันจะเกิดแก่สหกรณ์ด้วยเหตุอันไม่แจ้งนั้น
******************************************************** |